ความเป็นมา
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ในหน้าที่ของหน่วยงานวางหลักเกณฑ์ (Regulator)
สำนักงาน ปปง.มีบทบาทในการศึกษาหามาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) ส่วนในฐานะของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) สำนักงาน ปปง. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฟอกเงิน ตามมติของคณะกรรมการธุรกรรม ตลอดจนดูแลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าว
สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเลขาธิการ ปปง. เป็นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน และรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง โดยมีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง(
ประกอบวรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 40 [1] แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กอปรกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน พ.ศ. 2550 ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะ กรรมการธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คณะกรรมการธุรกรรมและคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงินแต่งตั้ง และปฏิบัติงานธุรการอื่น
(2) รับรายงานและแจ้งการตอบรับรายงานการทำธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งการรับรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่ได้มาโดยทางอื่น
(3) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือกฎหมายอื่น
(4) เก็บ รวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลการรายงานและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม
(5) เก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ยึด อายัด และบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(6) เผยแพร่ความรู้และจัดฝึกอบรมในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือช่วยเหลือหรือสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการเผยแพร่ความรู้และ จัดฝึกอบรมดังกล่าวขึ้น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือและส่งเสริมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลหรือสนับ สนุนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศ
(7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
[1] มาตรา 40 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
โครงสร้าง
โครงสร้างสำนักงาน ปปง.
1 สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไปของสำนักงานและราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
(1) ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานบริหารทั่วไป และงานเลขานุการของสำนักงาน
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพิทักษ์ระบบคุณธรรม และงานสวัสดิการของสำนักงาน
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน การรับแจ้งเบาะแสและข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานและความผิดฐานฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรม และสร้างภาพลักษณ์
ของสำนักงาน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2 กองกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อยกร่างและพัฒนากฎหมาย ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้คำปรึกษาและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา
หรืองานคดีปกครอง งานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานหรือหน่วยงานอื่น และประชาชนที่ช่วยปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่
(3) เสนอหลักเกณฑ์ รูปแบบ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรม รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรม
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลคดี การบริหารจัดการสำนวนคดี การจัดทำสารบบ
และประมวลกฎหมาย คำพิพากษาและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับงานแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกลุ่มผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(7) ดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับและคณะกรรมการเปรียบเทียบตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
3 กองกำกับและตรวจสอบ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) รับรายงานและแจ้งการตอบรับรายงานการทำธุรกรรม
(2) ศึกษา พัฒนา นโยบาย มาตรการและแนวทางการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม
(3) กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมเกี่ยวกับ
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(4) ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการฟอกเงินของสถาบันการเงินและผู้มีหน้าที่รายงานการ
ทำธุรกรรม หรือของหน่วยงานของรัฐหรือกิจการบางประเภทที่ไม่ต้องรายงานการทำธุรกรรม และประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(5) ฝึกอบรม สัมมนา เผยแพร่ข้อมูลให้ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้แก่สถาบันการเงินและผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
4 กองข่าวกรองทางการเงิน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบและการสร้างฐานข้อมูลข่าวกรองทางการเงิน
การประมวลผล และการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ด้านข่าวกรองและสืบสวนทางการเงิน
(2) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลการวิเคราะห์รายงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สืบสวนและวิเคราะห์รายงานหรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่มีเหตุ
อันควรสงสัย
(4) สืบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) ตรวจสอบและพิสูจน์ทราบทางบัญชีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานและ
ความผิดฐานฟอกเงิน
(6) สนับสนุนการปฏิบัติการหรือประสานการปฏิบัติการเพื่อการสืบสวน ตรวจค้น ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
5 กองคดี 1 - 3 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) สืบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2) ปฏิบัติการหรือประสานการปฏิบัติการเพื่อการสืบสวน ตรวจค้น ยึดหรืออายัดทรัพย์สินและรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับคดีเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการขอหมายค้น หมายจับ การจับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน
การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน และการประสานติดตามพยานในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การเก็บรักษาพยานหลักฐานและของกลางในคดี การรับและส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งติดตามและแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายการกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละกองคดีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินประกาศกำหนด
6 กองความร่วมมือระหว่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบาย กรอบทิศทาง การพัฒนามาตรการ รูปแบบ เทคนิค วิธีการ และ
แผนปฏิบัติงาน รวมทั้งติดตามประเมินผลความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่างประเทศในการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(2) ประสานความร่วมมือ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศและ
ต่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือ
และความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงิน
แก่การก่อการร้าย จากองค์การระหว่างประเทศและต่างประเทศ
(3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
7 กองนโยบายและยุทธศาสตร์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ กรอบทิศทาง แผนปฏิบัติงาน ของสำนักงาน
ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(2) พัฒนาและเสนอแนะมาตรการ รูปแบบ เทคนิค วิธีการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ เก็บ รวบรวมข้อมูล สถิติ และวิจัยพัฒนาด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(4) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) วางระบบ ส่งเสริม สนับสนุน กำหนดมาตรฐานการพัฒนาบุคลากรและจัดฝึกอบรม
ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
8 กองบริหารจัดการทรัพย์สิน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบบัญชีทางทรัพย์สิน การจัดเก็บและการดูแลรักษาทรัพย์สิน การส่งมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง การส่งคืนแก่เจ้าของ และการประเมินราคาทรัพย์สิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบการบริหารจัดการทรัพย์สิน การให้ผู้มีส่วนได้เสีย
รับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ การนำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์ของทางราชการ การให้เช่า การแต่งตั้งผู้จัดการ รวมทั้งการสำรวจทรัพย์สินเพื่อการบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
9 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศของสำนักงาน
(2) วิจัย พัฒนา และวางระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบเครื่องมืออุปกรณ์เทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนการสืบสวน การข่าว และ
การบริหารงานของสำนักงานในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุน
ทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(3) เป็นศูนย์กลางระบบข้อมูลและการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ของประเทศ
(4) ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ และฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ในหน้าที่ของหน่วยงานวางหลักเกณฑ์ (Regulator)
สำนักงาน ปปง.มีบทบาทในการศึกษาหามาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) ส่วนในฐานะของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) สำนักงาน ปปง. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฟอกเงิน ตามมติของคณะกรรมการธุรกรรม ตลอดจนดูแลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าว
สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเลขาธิการ ปปง. เป็นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน และรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง โดยมีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง(

(1) ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะ กรรมการธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คณะกรรมการธุรกรรมและคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงินแต่งตั้ง และปฏิบัติงานธุรการอื่น
(2) รับรายงานและแจ้งการตอบรับรายงานการทำธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งการรับรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่ได้มาโดยทางอื่น
(3) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือกฎหมายอื่น
(4) เก็บ รวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลการรายงานและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม
(5) เก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ยึด อายัด และบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(6) เผยแพร่ความรู้และจัดฝึกอบรมในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือช่วยเหลือหรือสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการเผยแพร่ความรู้และ จัดฝึกอบรมดังกล่าวขึ้น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือและส่งเสริมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลหรือสนับ สนุนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศ
(7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
[1] มาตรา 40 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
โครงสร้าง
โครงสร้างสำนักงาน ปปง.
1 สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไปของสำนักงานและราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
(1) ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานบริหารทั่วไป และงานเลขานุการของสำนักงาน
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพิทักษ์ระบบคุณธรรม และงานสวัสดิการของสำนักงาน
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน การรับแจ้งเบาะแสและข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานและความผิดฐานฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรม และสร้างภาพลักษณ์
ของสำนักงาน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2 กองกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อยกร่างและพัฒนากฎหมาย ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้คำปรึกษาและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา
หรืองานคดีปกครอง งานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานหรือหน่วยงานอื่น และประชาชนที่ช่วยปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่
(3) เสนอหลักเกณฑ์ รูปแบบ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรม รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรม
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลคดี การบริหารจัดการสำนวนคดี การจัดทำสารบบ
และประมวลกฎหมาย คำพิพากษาและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับงานแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกลุ่มผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(7) ดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับและคณะกรรมการเปรียบเทียบตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(

3 กองกำกับและตรวจสอบ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) รับรายงานและแจ้งการตอบรับรายงานการทำธุรกรรม
(2) ศึกษา พัฒนา นโยบาย มาตรการและแนวทางการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม
(3) กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมเกี่ยวกับ
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(4) ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการฟอกเงินของสถาบันการเงินและผู้มีหน้าที่รายงานการ
ทำธุรกรรม หรือของหน่วยงานของรัฐหรือกิจการบางประเภทที่ไม่ต้องรายงานการทำธุรกรรม และประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(5) ฝึกอบรม สัมมนา เผยแพร่ข้อมูลให้ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้แก่สถาบันการเงินและผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
4 กองข่าวกรองทางการเงิน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบและการสร้างฐานข้อมูลข่าวกรองทางการเงิน
การประมวลผล และการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ด้านข่าวกรองและสืบสวนทางการเงิน
(2) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลการวิเคราะห์รายงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สืบสวนและวิเคราะห์รายงานหรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่มีเหตุ
อันควรสงสัย
(4) สืบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) ตรวจสอบและพิสูจน์ทราบทางบัญชีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานและ
ความผิดฐานฟอกเงิน
(6) สนับสนุนการปฏิบัติการหรือประสานการปฏิบัติการเพื่อการสืบสวน ตรวจค้น ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
5 กองคดี 1 - 3 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) สืบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2) ปฏิบัติการหรือประสานการปฏิบัติการเพื่อการสืบสวน ตรวจค้น ยึดหรืออายัดทรัพย์สินและรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับคดีเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการขอหมายค้น หมายจับ การจับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน
การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน และการประสานติดตามพยานในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การเก็บรักษาพยานหลักฐานและของกลางในคดี การรับและส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งติดตามและแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายการกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละกองคดีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินประกาศกำหนด
6 กองความร่วมมือระหว่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบาย กรอบทิศทาง การพัฒนามาตรการ รูปแบบ เทคนิค วิธีการ และ
แผนปฏิบัติงาน รวมทั้งติดตามประเมินผลความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่างประเทศในการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(2) ประสานความร่วมมือ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศและ
ต่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือ
และความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงิน
แก่การก่อการร้าย จากองค์การระหว่างประเทศและต่างประเทศ
(3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
7 กองนโยบายและยุทธศาสตร์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ กรอบทิศทาง แผนปฏิบัติงาน ของสำนักงาน
ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(2) พัฒนาและเสนอแนะมาตรการ รูปแบบ เทคนิค วิธีการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ เก็บ รวบรวมข้อมูล สถิติ และวิจัยพัฒนาด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(4) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) วางระบบ ส่งเสริม สนับสนุน กำหนดมาตรฐานการพัฒนาบุคลากรและจัดฝึกอบรม
ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
8 กองบริหารจัดการทรัพย์สิน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบบัญชีทางทรัพย์สิน การจัดเก็บและการดูแลรักษาทรัพย์สิน การส่งมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง การส่งคืนแก่เจ้าของ และการประเมินราคาทรัพย์สิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบการบริหารจัดการทรัพย์สิน การให้ผู้มีส่วนได้เสีย
รับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ การนำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์ของทางราชการ การให้เช่า การแต่งตั้งผู้จัดการ รวมทั้งการสำรวจทรัพย์สินเพื่อการบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
9 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศของสำนักงาน
(2) วิจัย พัฒนา และวางระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบเครื่องมืออุปกรณ์เทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนการสืบสวน การข่าว และ
การบริหารงานของสำนักงานในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุน
ทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(3) เป็นศูนย์กลางระบบข้อมูลและการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ของประเทศ
(4) ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ และฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย