ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
29. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
“การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้าที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การดำเนินการอื่นที่กำหนดไว้ในระเบียบ
30. “พัสดุ” หมายความ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
31. “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายถึง
- สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและ
มีฐานะเป็นนิติบุคคล
- สำหรับราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด
32. “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับพัสดุ ตามองค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี
33. “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับ
แต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุ
34. การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ 6 วิธี คือ
1) วิธีตกลงราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000 บาท
2) วิธีสอบราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน
2,000,000 บาท
3) วิธีประกวดราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
4) วิธีพิเศษ
5) วิธีกรณีพิเศษ
6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
35. คณะกรรมการที่ดำเนินการตามระเบียบฯ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และ
กรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยปกติเดิมให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณี
จำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นกรรมการก็ได้
36. การซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่ง
ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
37. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนถ้าเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้
ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ
ราชการนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานของความเป็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อ
หัวหน้าส่วนราชการให้ความเป็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดย
อนุโลม
38. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบ
ราคาในประเทศ หรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่ง
ประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น
โดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กับปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ส่วนราชการนั้น
39. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับ 6 พ.ศ. 2544
40. ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535คือ ปลัดกระทรวงการคลัง
41. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและเจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งในระดับภูมิภาค
42. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 5 คน มีวาระคราวละ 2 ปี
43. การตรวจสอบพัสดุประจำปี ดำเนินการ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่ง หรือหลายคนตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการจ่ายพัสดุ งวดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่ 30 กันยายน ปีปัจจุบัน
29. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
“การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้าที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การดำเนินการอื่นที่กำหนดไว้ในระเบียบ
30. “พัสดุ” หมายความ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
31. “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายถึง
- สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและ
มีฐานะเป็นนิติบุคคล
- สำหรับราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด
32. “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับพัสดุ ตามองค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี
33. “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับ
แต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุ
34. การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ 6 วิธี คือ
1) วิธีตกลงราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000 บาท
2) วิธีสอบราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน
2,000,000 บาท
3) วิธีประกวดราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
4) วิธีพิเศษ
5) วิธีกรณีพิเศษ
6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
35. คณะกรรมการที่ดำเนินการตามระเบียบฯ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และ
กรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยปกติเดิมให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณี
จำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นกรรมการก็ได้
36. การซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่ง
ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
37. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนถ้าเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้
ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ
ราชการนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานของความเป็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อ
หัวหน้าส่วนราชการให้ความเป็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดย
อนุโลม
38. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบ
ราคาในประเทศ หรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่ง
ประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น
โดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กับปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ส่วนราชการนั้น
39. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับ 6 พ.ศ. 2544
40. ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535คือ ปลัดกระทรวงการคลัง
41. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและเจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งในระดับภูมิภาค
42. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 5 คน มีวาระคราวละ 2 ปี
43. การตรวจสอบพัสดุประจำปี ดำเนินการ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่ง หรือหลายคนตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการจ่ายพัสดุ งวดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่ 30 กันยายน ปีปัจจุบัน